วันเสาร์ที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2552

สรุป บทที่ 1 กระบวนการผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ด้วยคอมพิวเตอร์

1 เริ่ิมต้นรู้จักกับการสร้างสิ่งพิมพ์

1.1 กระบวนการผลิตงานสิ่งพิมพ์ประกอบด้วย
1 การเตรียมไฟล์งาน ควรเตรียมไฟล์มาก่อน หรือจะค้นหามาจากอินเตอร์เน็ต และรูปภาพที่เราถ่ายมาเองก็ได้
2 การจัดการกับภาพ ควรนำภาพมาในเครื่องทำการตกแต่งภาพ หรือใช้โปรแกรมในการตกแต่งภาพให้สวยงาม
3 กระดาษที่ใช้ในการพิมพ์ เช่น เราควรรู้ว่าเราจะทำการผลิตหนังสือ หรือนิตยสาร จุลสาร วารสาร แมกกาซีน เราควรเลือกกระดาษที่มีคุณภาพ เช่น ขาวสะอาด ขาวหม่น หนา เป็นต้น
1.2 การเตรียมงานพิมพ์
แต่ก่อนระบบการพิมพ์จะใช้ช่างศิลป์ ช่างเลย์ฟิล์ม และช่องทำแม่พิมพ์ และต่อมาเทคโนโลยีได้เข้ามามีบทบาทมากมายทำให้ไฟล์ที่ต้นฉบับที่ส่งมาไม่สอดคล้องกับมาตาฐานการทำงานของโรงพิมพ์หลักในการพิจารณาดังนี้
1.2.1 การส่งไฟล์ข้อมูล ไฟล์ภาพ หรือฟอนต์ ให้กับโรงพิมพ์ ไฟล์ข้อมูลควรเป็นไฟล์ .PDF ไฟล์ภาพควรกำหนดเป็นโหมด CMYK ฟอนต์ควรมีขนาด 16 ถือเป็นมาตรฐาน รูปแบบฟอนต์จะเป็น Angsana new หรือ Codia new ก็ได้ ส่วนโปรแกรมจัดหน้ากระดาษทางโรงพิมพ์นิยมใช้โปรแกรม InDesign ในการจัดหน้ากระดาษ
1.2.2 ความละเอียดของไฟล์ที่ส่งไป
ความละเอียด ของงานพิมพ์ ออฟเซต หรือ พิมพ์สี่สี ตามโรงพิมพ์คือ 300dpi (หรือมากกว่า) ตามที่ได้กล่าวไปเมื่อครั้งที่แล้ว
ความรู้ดังกล่าวส่งผลให้ คนมักจะพยายามเซ็ต ความละเอียดให้เท่ากับ หรือมากกว่า 300dpi เสมอโดยไม่ได้สนใจว่างานที่ต้องการนั้น จำเป็นต้องใช้ความละเอียดมากขนาดนั้นหรือไม่
โดยเฉพาะการนำภาพไปอัดตามร้านถ่ายภาพ ซึ่งจริงๆ มีความแตกต่างจากระบบการพิมพ์สี่สีอย่างมาก
การเก็บภาพในคอมพิวเตอร์ นั้นจะเก็บสีต่อหนึ่งจุดได้แตกต่างกัน ถึง 16 ล้านสี
เนื่องจาก ในหนึ่งจุดจะแสดงค่าสี RGB รวมกันออกมาในจุดๆเดียว
ระบบงานพิมพ์ออฟเซต มีวิธีการแสดงผลแตกต่างกันออกไป เนื่องจะระบบออฟเซต ใช้วิธี “ผสมสีทางสายตา”
หรือ ที่เราเรียกว่า “เม็ดสกรีน” เรียกภาษาอังกฤษ ว่า Dot ink
คือสีหนึ่งสีที่เราเห็น เกิดจากการผสมสีทางสายตาของจุดสี C M Y K
ตรงนี้เอง ที่เป็นจุดที่ทำให้การกำหนดขนาดไฟล์ภาพในการไปทำงานพิมพ์ จำเป็นต้องมีความละเอียดสูง
เนื่องจาก ขั้นตอนการ เปลี่ยนจากจุด pixel ไปเป็นเม็ดสกรีน จะทำให้เกิด การสูญเสียความคมชัดไป “อย่างเห็นได้ชัด”